โครงการการเรียนรู้การเกษตร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

โครงการการเรียนรู้การเกษตร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ โดย 5 หน่วยงานร่วมมือกัน ศูนย์ตะวันฉาย ร่วมมือกับ คณะเกษตรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และสโมสรนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการ การเรียนรู้การเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัตกรรม อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการการเรียนรู้การเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้ด้านการเกษตรยั่งยืน ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพภายในตัวของผู้มีภาวะพิเศษปากแหว่งเพดานโหว่ ให้สามารถสร้างสุนทรียะ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดความเครียด ความวิตกกังวล  นอกจากนี้ยังเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ให้สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ดียิ่งขึ้น  รวมทั้งส่งมอบความรู้สร้างความเข้าใจของสังคมที่มีต่อผู้มีภาวะพิเศษเพื่ออยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิดงาน และมีผู้บริหารร่วมงานล้มหลาม ได้แก่ รศ.นพ.พลากร สุรกุลประภา รองคณบดีฝ่ายศูนย์ความเป็นเลิศและศูนย์กลางบริการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์  รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ ร่วมกล่าวสนับสนุนการจัดโครงการ…

กิจกรรมคลินิกบูรณาการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566

มูลนิธิตะวันฉายฯ และศูนย์ตะวันฉาย โดยความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมบูรณาการเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ณ ศูนย์ตะวันฉาย และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ประกอบด้วย กิจกรรมวิชาการเรื่อง Orthognathic surgery for patients with CLP บรรยายโดย ทพ.วทัญญู ขอดแก้ว ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล และทพญ.ณัฐรินทร์ วงศ์สิริฉัตร  สาขาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ผศ.ทพญ.ภัทรมน รัตนาพันธุ์ และอ.ทพญ.อมรรัตน์ มโนสุดประสิทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา กิจกรรมการตรวจประเมินผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ แบบสหวิทยาการ (Integrated Cleft & Craniofacial Clinic) กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาการ ระบายสีพร้อมเรียนรู้คำศัพ์ภาษาอังกฤษ โดยเจ้าหน้าที่มูลนิธิตะวันฉายฯ นักสังคมสงเคราะห์ คณะแพทยศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับบ้านชีวาศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมวันเด็ก ประจำปี 2566

มูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับบ้านชีวาศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมวันเด็ก ประจำปี 2566 ในวันศุกร์-วันเสาร์ที่ 13-14 มกราคม 2566 ในวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566 มูลนิธิได้ร่วมกับจิตอาสาบ้านชีวาศิลป์ จัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น เสริมสร้างพัฒนาการให้แก่น้องตะวันฉาย ณ ลานหน้าศูนย์ตะวันฉาย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับการสนับสนุนของรางวัล ขนม และอาหารจากผู้ใจบุญมากมาย น้องตะวันฉายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุข และได้รับของรางวัลกลับบ้านไปทุกคน และในวันเสารที่ 14 มกราคม 2566 มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรม  ณ ลานกิจกรรมหน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ ในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 9.00 น. สนุกกับกิจกรรมละมุนมากมายจาก ใบเตย โฮมสคูล บ้านเรียนภาษาและดนตรี ขอนแก่น พร้อมด้วย ศรเสริม ติวเตอร์ – SornSerm Tutor…

อาจารย์จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี (คณะพยาบาลศาสตร์) ร่วมมอบของขวัญวันเด็กให้กับน้องๆ ตะวันฉาย

อาจารย์จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี (คณะพยาบาลศาสตร์) ร่วมมอบของขวัญวันเด็กให้กับน้องๆ ตะวันฉาย  โดยมีกรรมการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566

คลินิกสองคุณหมอจัดฟัน & คลินิกจัดฟันสองคุณหมอ มอบของขวัญวันเด็กให้กับน้องๆ ตะวันฉาย

ทพ.ทวีชัย และ ทพญ.ทัศนีย์ วังศรีมงคล คลินิกสองคุณหมอจัดฟัน & คลินิกจัดฟันสองคุณหมอ ร่วมมอบของขวัญวันเด็กให้กับน้องๆ ตะวันฉาย  โดยมีกรรมการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566

ศ.นพ.บวรศิลป์และรศ.พญ.ปรารถนา เชาวน์ชื่น ร่วมมอบของขวัญวันเด็กให้กับน้องๆ ตะวันฉาย

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ และ รศ.พญ.ปรารถนา เชาวน์ชื่น ร่วมมอบของขวัญวันเด็กให้กับน้องๆ ตะวันฉาย โดยมีกรรมการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566

ชมรมจริยธรรม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น บริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ จากชมรวมจริยธรรม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ จำนวน 12,799 บาท ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และน้ำดื่ม โดยมี คุณยุพิน ปักกะสังข์ พยาบาลประสานงานฯ และผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิ พร้อมเจ้าหน้าที่ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565

แจกปฏิทินปีใหม่ ๒๕๖๖ Free Calendar 2023

HAPPY NEW YEAR 2023 สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๖ ***************************************************************************** ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัย จงอวยชัยให้ทุกท่านมีความสุข ปราศจากทุกข์ สุขภาพดีเป็นมิ่งขวัญ ปลอดโรคปลอดภัยในทุกวัน สุขสมหวังดั่งใจตลอดปี 2566   ฟรีปฏิทิน I Download Free Calendar (PDF file) ฟรีปฏิทิน I Download Free Calendar (JPEG file)

บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด มหาชน บริษัท ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ จำกัด มหาชน และบริษัทในเครือฯ ร่วมกับ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต บริจาคผ้าห่ม

บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด มหาชน บริษัท ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ จำกัด มหาชน และบริษัทในเครือฯ ร่วมกับ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต บริจาคผ้าห่ม ผ่านงานสังคมสงเคราะห์ ​โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ให้แก่มูลนิธิตะวันฉายฯ รับมอบโดยเจ้าหน้าที่มูลนิธิ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเครื่องเอ็กซเรย์ MOBii Scan แก่ศูนย์ตะวันฉาย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมายังคลินิกผู้ป่วยนอก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทอดพระเนตรเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติลำรังสีทรงกรวยแบบเคลื่อนย้ายได้ MOBii Scan ผลงานวิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2565 ซึ่งได้พระราชทานเครื่องเอ็กซเรย์ดังกล่าวแก่ศูนย์ตะวันฉาย สำหรับใช้ถ่ายอวัยวะภายในบริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการผ่าตัดรักษา ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัด ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น สามารถคาดการณ์ผลการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำขึ้นโดยใช้โปรแกรม THAICLEFT LINK เป็น web application เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลผู้ป่วย เชื่อมโยงการทำงานระหว่างทีมเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ในเชิงบูรณาการแบบสหวิทยาการ ซึ่งใช้ข้อมูลเดินทางแทนการเดินทางจริงของผู้ป่วย ทีมผู้รักษาไม่ต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โอกาสนี้ทอดพระเนตรนิทรรศการ อาทิ ผลงานการใช้เครื่อง MOBii SCAN ในการประเมินผลลัพธ์และวางแผนการรักษาผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูกสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และผลงานการใช้นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสุขภาพในการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ด้วยระบบการแพทย์ทางไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หลังการผ่าตัด จะใส่อุปกรณ์จัดแต่งจมูกทำจากซิลิโคนเกรดทางการแพทย์ ที่มีความปลอดภัย เข้ากันได้ทางชีวภาพ มีความสวยงาม ได้รับการรับรองจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ทุกสถานพยาบาลเบิกจ่ายได้ทั่วประเทศ ข่าวในพระราชสำนัก TOP NEWS LIVE