การศึกษาวิจัยในโครงการ “การลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ ด้วยการเพิ่มการเข้าถึงเครื่องมือแพทย์และแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านสุขภาพ”

เนื่องด้วยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ทำการศึกษาวิจัยในโครงการ “การลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ ด้วยการเพิ่มการเข้าถึงเครื่องมือแพทย์และแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านสุขภาพ” โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการขยายผล (scale up) กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มการเข้าถึงเครื่องมือแพทย์และแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้พิการ คนยากจน และผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ในฐานะที่มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า เป็นหน่วยงานที่มีการช่วยเหลือการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ตลอดจนสนับสนุนการค้นคว้าและการวิจัยเกี่ยวกับโรค สถาบันฯ ขอสัมภาษณ์ ในวันที่ 19 เมษายน 2566 มูลนิธิจะวันฉายฯ นำโดย ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ท่านปรธานกรรมการมูลนิธิ นางยุพินปักกะสังข์ ผู้ช่วยเลขานุการฯ นางสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ได้ให้การต้อนรับและให้ข้อมูล เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการดูแลด้านสุขภาพ

มูลนิธิตะวันฉายฯ สนับสนุนการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

เนื่องด้วยอุบัติการณ์เกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากที่สุดในประเทศไทย มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้เผยแพร่ความรู้และรณรงค์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ผู้กำลังวางแผนครอบครัวหรือเตรียมพร้อมมีบุตร และผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ทำให้การเกิดภาวะปากแหว่งลดลง แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังมีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการทางศีรษะและใบหน้าไม่เพียงพอต่อจำนวนทั่วป่วย และไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ หรือไม่มาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตสังคมของผู้ป่วย ประธานกรรมการมูลนิธิ ศาสตราจารย์นายแพทบ์บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น จึงเห็นความสำคัญในการผลิตแพทย์เพื่อรองรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งต้องรับการักษาจากแพทย์และบุคลกรหลากหลายสาขาเป็นระยะเวลานาน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยในอนาคต จึงได้มอบเงินส่วนหนึ่งในกองทุนเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม ภายใต้มูลนิธิตะวันฉายฯ ซึ่งท่านได้รับจาก “รางวัลมีชัย วีระไวทยะ” ในโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม ปี 2554 โดยมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และคัดเลือกโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (สาขาการพัฒนาสังคมชนบท) เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท จากทั้งหมด 500,000 บาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2565

มูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับศูนย์ตะวันฉาย ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในจังหวัดขอนแก่น

เมื่อ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 นางสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เด็กชาย คงเดช สีเชียงพิมพ์ ที่ ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ รศ.ดร.ทพ.พูนศักดิ์ ภิเศก หัวหน้าสาขาวิชาและแขนงวิชาทันตกรรมจัดฟัน และ อ.ดร.ทพญ.พุทธธิดา วังศรีมงคล ทันตแพทย์จัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ พร้อมด้วย นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่ศูนย์ตะวันฉาย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อตรวจประเมินสุขภาพร่างการ และจิตสังคม โดยใช้ นวัตกรรมดิจิตอลเพื่อสุขภาพ KKU INNOVATION OF DIGITAL HEALTHCARE

โครงการอบรม การเพิ่มพัฒนาศักยภาพงานวิจัยและนวัตกรรมของศูนย์ตะวันฉาย

ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า หน่วยงานด้านการวิจัยของศูนย์ตะวันฉาย จัดโครงการอบรม การเพิ่มพัฒนาศักยภาพงานวิจัยและนวัตกรรมของศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.30-16.30 น. (Zoom Webinar) เพื่อให้นักวิจัยและนักศึกษาหลังปริญญาได้รับความรู้ พัฒนาทักษะด้านการเขียนโครงร่างวิจัย บทความวิจัย และการตีพิมพ์วารสารระดับชาติและนานาชาติที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้นักวิจัยได้แนวคิดและโครงร่างของการสร้างนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคมมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 108 คน ประกอบด้วยนักวิจัย นักศึกษาหลังปริญญา และผู้สนใจได้รับความรู้ และทักษะด้านการเขียนข้อเสนอโครงร่างวิจัย บทความวิจัย และการตีพิมพ์วารสารระดับชาติและนานาชาติที่มีคุณภาพ ได้แนวคิดและโครงร่างของการสร้างนวัตกรรม . คลิปวิดีโอและเอกสารประกอบการอบรม หัวข้อที่ 1 เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยทุนภายนอกอย่างมืออาชีพ โดย ศ.ดร.โสพิศ วงศ์คำ คณะแพทยศาสตร์ มข. หัวข้อที่ 2 การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์ โดย รศ.ดร.ทพ.พูนศักดิ์  ภิเศก คณะทันตแพทยศาสตร์ มข. หัวข้อที่ 3 How to prepare a…

นพ.กวีศักดิ์ เสาทองหลาง ฝึกประสบการณ์ ณ โรงพยาบาลฉางกัง ประเทศไต้หวัน

มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้สนับสนุนการเข้าฝึกประสบการณ์ของ นพ.กวีศักดิ์ เสาทองหลาง เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้เฉพาะทางด้าน Cleft and Craniofacial Deformities ณ โรงพยาบาลฉางกัง ประเทศไต้หวัน (CHANG GUNG MEMORIAL HOSPITAL, TAIWAN) ในระหว่างวันที่ 3-31 มกราคม 2562