“โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 11” (ค่ายตะวันฉาย)

มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า จัด “โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 11” (ค่ายตะวันฉาย) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์ค้ำคูณ อ.อุบลรัตน์ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยเอก พงเจตน์ พรกุณา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ พร้อมด้วย คุณเครือวัลย์ ชาญนุวงศ์ กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่นและกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ  รศ.ดร.ทพญ.ทัศนีย์ วังศรีมงคล กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ คุณภาณี เดชาสถิตย์ หัวหน้าหอผู้ป่วย 3 ค. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คุณสุทธิกานต์ ก่อสกุล หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์และกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ บุคลากรทางการแพทย์ และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในพิธี ณ ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1.เพื่อให้บริการที่สมบูรณ์แบบในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า…

น.ส.ชนกนันท์ สาหมาน และน.ส.ชนกนาถ สาหมาน

น้องชนกนันท์และน้องชนกนาถหรือน้องปูกับน้องปอ สองสาวฝาแฝดที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่สองข้างมาตั้งแต่กำเนิด พร้อมมีภาวะกลุ่มอาการโรคร่วม คือ  Ankyloblepharon-Ectodermal Defects-Cleft Lip/Palate (AEC) Syndrome in Monozygotic Twins (Hay-Wells syndrome) ซึ่งมีความผิดปกติของ ฟัน ต่อมเหงื่อ ผิวหนัง ผม นิ้ว ตา และหู ร่วมด้วย  น้องเกิดและเติบโตที่จังหวัดอุบลราชธานี ในปีพ.ศ.2548 โดยอาศัยอยู่กับพ่อ แม่ ป้า และพี่สาวคอยดูแล ครอบครัวของน้องปูและน้องปอไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าลูกของตนจะมีภาวะเช่นนี้  รวมทั้งรู้สึกกังวลและสงสารลูกทั้งสองเป็นอย่างมาก และหวังว่าจะมีทางรักษาให้กับลูกสาวทั้งสองของตนให้หายจากภาวะโรค และมีชีวิตที่เป็นปกติเหมือนเด็กคนอื่นๆ ครอบครัวของน้องสองแฝดได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์และพยาบาลของศูนย์ตะวันฉาย รวมทั้ง กุมารแพทย์ แพทย์ผิวหนัง แพทย์พัฒนาการและทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีการให้คำแนะนำวิธีการดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ที่ถูกต้อง  ตั้งแต่การให้นมและสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย การดูแลความสะอาดของผิวหนัง จนกระทั่งได้เข้ารับการผ่าตัด ซึ่งจะช้ากว่าเด็กอื่นๆที่ร่างกายและน้ำหนักพร้อม โดยเข้ารับการผ่าตัดครั้งแรก เมื่ออายุได้  11 เดือน ผลการตรวจหู พบภาวะรูหูแคบกว่าเด็กคนอื่นๆ ได้ยินเสียงในระดับ  40 เดซิเบล ซึ่งการได้ยินต่ำกว่าปกติ  ฝึกพูด…

นศพ.ปัณณฑร จิรัฐพิกาลพงศ์ หรือ ปันปัน

ปันปัน นักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น นางสาวปัณณฑร หรือน้องปันปัน เด็กสาวที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตอนที่คุณพ่อและคุณแม่ของน้องปันปันรู้ว่าลูกของตนเกิดมาในภาวะเช่นนี้ ทางครอบครัวไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาวะนี้เลย และในขณะนั้นเองศูนย์การดูแลในกลุ่มโรคนี้ยังมีไม่ค่อยมากนัก  แต่แล้วก็ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์ตะวันฉายและมูลนิธิตะวันฉายฯ ทำให้คุณพ่อและคุณแม่หายกังวลใจ เมื่อทราบว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ น้องปันปันเข้ารับการรักษาและผ่าตัดครั้งแรกเมื่ออายุได้ 3 เดือน ผ่าตัดครั้งที่สองเมื่ออายุ 11 เดือน โดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากทำการผ่าตัด ก็ได้รับการดูแลด้านอื่นๆด้วย โดยได้รับการฝึกพูดและจัดฟันเมื่ออยู่ในช่วงระหว่างการศึกษาระดับมัธยมศึกษา กระทั่งน้องสามารถพูดได้อย่างชัดเจนและคล่องแคล่ว น้องปันปันสามารถก้าวผ่านอุปสรรคและความยากลำบากต่างๆมาได้ เนื่องจากความรัก ความดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว และการดูแลที่เหมาะสมจากทีมแพทย์ พยาบาล นักแก้ไขการพูดและทันตแพทย์ตั้งแต่ยังเด็ก จนน้องหายเป็นปกติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลยสำหรับน้องปันปัน นอกจากนั้นแล้วน้องปันปันยังมีความฝันอยากที่จะเป็นหมอ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอื่นๆ เหมือนอย่างที่น้องเคยได้รับความช่วยเหลือและความเอาใจใส่เมื่อวัยเด็กจากทุกคนรอบๆตัวน้อง นอกจากความสามารถด้านการศึกษาแล้ว น้องปันปันยังมีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีอีกด้วย น้องสามารถเล่นเปียโนได้อย่างเชี่ยวชาญและเคยมาเล่นให้กับทีมผู้รักษาของศูนย์ตะวันฉายในงานสำคัญต่างๆด้วย ปัจจุบัน น้องปันปัน กำลังศึกษาอยู่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งน้องสามารถทำตามความฝันที่ตนเองตั้งใจไว้ พร้อมทั้งสามารถยิ้มได้อย่างมีความสุขและมีความมั่นใจในทุกๆวัน น้องปันปัน ขอขอบคุณ สมาล์ยเทรนและมูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า (ภายใต้โครงการพระราชทานตะวันฉาย) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครอบครัวและเพื่อนๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างรอยยิ้มให้แก่น้องปันปัน ในความตั้งใจอันดีของน้องปันปันและการสนับสนุนจากครอบครัวน้องปันปัน…