น.ส.ชนกนันท์ สาหมาน และน.ส.ชนกนาถ สาหมาน

น้องชนกนันท์และน้องชนกนาถหรือน้องปูกับน้องปอ สองสาวฝาแฝดที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่สองข้างมาตั้งแต่กำเนิด พร้อมมีภาวะกลุ่มอาการโรคร่วม คือ  Ankyloblepharon-Ectodermal Defects-Cleft Lip/Palate (AEC) Syndrome in Monozygotic Twins (Hay-Wells syndrome) ซึ่งมีความผิดปกติของ…

อ่านรายละเอียด

นศพ.ปัณณฑร จิรัฐพิกาลพงศ์ หรือ ปันปัน

ปันปัน นักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น นางสาวปัณณฑร หรือน้องปันปัน เด็กสาวที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตอนที่คุณพ่อและคุณแม่ของน้องปันปันรู้ว่าลูกของตนเกิดมาในภาวะเช่นนี้ ทางครอบครัวไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาวะนี้เลย และในขณะนั้นเองศูนย์การดูแลในกลุ่มโรคนี้ยังมีไม่ค่อยมากนัก  แต่แล้วก็ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์ตะวันฉายและมูลนิธิตะวันฉายฯ ทำให้คุณพ่อและคุณแม่หายกังวลใจ เมื่อทราบว่าโรคนี้สามารถรักษาได้…

อ่านรายละเอียด

น้องอ้อม นิติรัตน์ พนมไพรพฤกษา

ขอขอบพระคุณผู้บริจาคเงินให้กับมูลนิธิตะวันฉายฯ ทำให้ได้มีเงินสมทบทุนในการช่วยเหลือทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่ารักษาพยาบาล การผ่าตัด การจัดฟัน การฝึกพูด รวมไปถึงค่าเดินทางในการมารักษาพยาบาลด้วย และขอขอบพระคุณมูลนิธิตะวันฉายที่ได้เปิดโอกาสให้ ดิฉันและเด็กๆที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ได้มีโอกาสแสดงออกในด้านต่างๆ โดยได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ อย่างเราได้เข้าร่วมด้วย ดิฉันมีความรู้สึกภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการดีๆ แบบนี้ และขอให้มูลนิธิตะวันฉายฯ เป็นที่พึ่งให้กับทุกๆ…

อ่านรายละเอียด

น้องกู้ ฐิตินันท์ สุพรรณคุ้ม

ดิฉันเป็นผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ ที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิตะวันฉายฯ ดิฉันขอขอบพระคุณ ผู้บริจาคเงินให้กับมูลนิธิทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือด้านการผ่าตัดตลอดจนค่าเดินทางในการมาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดิฉันขอขอบพระคุณสาหรับการแบ่งปันจากผู้บริจาคที่ทำให้ชีวิตของดิฉันเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

อ่านรายละเอียด

คุณหนิง อรุณี สักขวา

“ซิงเกิ้ลมัมสุดแกร่ง ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้คุณแม่และผู้ป่วยทุกคนสู้ชีวิต” คุณอรุณี สักขวา หรือคุณหนิง เป็นทั้งคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ดูแลลูกสามคนและเป็นผู้มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ร่วมด้วย เธอได้ถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้สึกที่เคยท้อแท้จากแรงกดดันในการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนผู้อื่น แต่สิ่งที่ทำให้คุณหนิงฮึดสู้และมีกำลังใจ คือ “ความเป็นแม่” เธอตั้งมั่นว่าจะเป็นแม่ที่ดีที่สุด และจะอดทนเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นคนดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยมีลูกๆ และครอบครัวของเธอคอยเป็นกำลังใจ แม้ในบางช่วงของชีวิตอาจมีเหตุวิกฤติ…

อ่านรายละเอียด

น้องเอ ลิขิต สำราญเนตร

“แรงใจที่ยิ่งใหญ่จากครอบครัว สร้างหนุ่มหล่อผู้ตอบแทนสังคม” น้องลิขิต สำราญเนตร มีภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ ซึ่งต้องเข้ารับผ่าตัดรักษาในปี พ.ศ.2543 ขณะอายุได้ 8 เดือน ด้วยความที่ครอบครัวอาศัยอยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล การเดินทางก็ลำบาก เนื่องจากฐานะทางครอบครัวไม่สู้ดีนัก ส่งผลกระทบถึงสภาพจิตใจที่ครอบครัวต้องเผชิญ แต่ด้วยความหวังและแรงใจที่แข็งแกร่ง…

อ่านรายละเอียด

น้องสร้อย สร้อยสุดา โนพา

ตั้งแต่ครั้งแรกที่หนูได้ไปรับการรักษา คุณหมอให้การช่วยเหลือและแนะนำดีมากค่ะ คอยเอาใจใส่และห่วงใยไม่เคยทอดทิ้งหนู ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาลหนูประทับใจมาก ไม่ว่าจะเป็นการรักษาการผ่าตัดในทุกครั้ง คุณหมอก็เอาใจใส่ดีมาก พูดจาดีมาก ทำให้หนูมีชีวิตใหม่ กล้าเผชิญหน้ากับทุกคน และไม่ท้อถอยกล้าต่อสู้กับอุปสรรคทุกอย่างโดยไม่ย่อท้อ หนูจะตั้งใจเรียนให้สำเร็จ จะได้ทำงานเลี้ยงดูคุณพ่อกับคุณแม่และน้องๆ  สิ่งที่หนูไม่เคยลืม คือ มูลนิธิตะวันฉายฯ…

อ่านรายละเอียด

น้องอุ้ม วันทชัย สมจิตร์

‘ผมอยากทำงานมีเงินเยอะๆ เพื่อจะได้มีเงินเรียนต่อจนจบปริญญาตรี’ น้องอุ้ม ผู้ที่เกิดมากับกลุ่มอาการเทรชเชอร์ คอลลินส์ และใบหูเล็กแต่กำเนิด ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ครั้งแรกที่คุณยายเห็นหน้าหลานรู้สึกตกใจ เสียใจอย่างมาก แต่ก็ยอมรับได้เพราะสงสารหลานและต้องดูแลให้เขาเติบโตเป็นคนที่สมบูรณ์เหมือนคนทั่วไป จนกระทั่งได้รับการช่วยเหลือจากโครงการ ๘๔ รอยยิ้ม ทำดีตามรอยพ่อฯ ได้รับการผ่าตัด…

อ่านรายละเอียด

น้องตะวัน ศุภสวัสดิ์ โครตทุม

เด็กหนุ่มจิตอาสา ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดตกแต่งและฟื้นฟูสภาพ พร้อมการก้าวเข้าวัยอุดมศึกษา ‘จากที่ได้รับการผ่าตัด ทำให้ผมไม่รู้สึกว่า ตัวเองมีความบกพร่องอะไร สามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นได้ เรียนได้เหมือนเด็กทั่วไป’ ตะวัน เกิดมากับความผิดปกติทางร่างกาย คือ ปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งความผิดปกตินี้ทำให้บิดามารดาของตะวัน เอาใจใส่ให้ความรัก เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด…

อ่านรายละเอียด

ครอบครัวกลายกลาง

“ความรู้สึกที่ไม่เคยลืม เมื่อหมอได้ยกลูกให้ดูในวันคลอด ภาพนั้นยังคงติดในความทรงจำ มีแต่ความสงสารและเป็นห่วง รวมถึงกังวลว่าจะเลี้ยงดูอย่างไร” “สิ่งอยากแบ่งปัน… การดูแลลูกที่มีความเจ็บป่วยความผิดปกติ จำเป็นต้องใช้ความเข้าใจ และอดทนต่อการเข้ารับการรักษาที่มีระยะเวลายาวนาน ให้ความรักและเมตตา แล้วเขาจะเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงเจริญเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ” ความในใจจากผู้เป็นแม่ การเผชิญกับปัญหาในการรักษาที่มีแต่ความกังวล ไม่ว่าจะในเรื่องแผลหลังการผ่าตัดจะติดดีหรือไม่ ลูกจะเจ็บหรือไม่…

อ่านรายละเอียด