โครงการ “ตะวันฉายปันรอยยิ้ม เพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่นๆ ครั้งที่ 2/2566”

มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า และศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า (ศูนย์ตะวันฉาย) ร่วมกับ โรงพยาบาลแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้จัด โครงการตะวันฉายปันรอยยิ้ม เพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่นๆ ครั้งที่ 2” ขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคม 2566 ณ โรงพยาบาลแขวงคำม่วน เมืองท่าแขก สปป.ลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์จากมูลนิธิตะวันฉายฯ และองค์กร Smile Train ในการช่วยเหลือการดูแล รักษา ผ่าตัด และฟื้นฟูสภาพโดยการฝึกพูด แบบสหวิทยาการ โดยทีมสหวิทยาการจากศูนย์ตะวันฉาย และเครือข่ายศัลยแพทย์ตกแต่งจากโรงพยาบาลขอนแก่นและโรงพยาบาลนครพนม สืบเนื่องจากครั้งที่ 1 ขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 เมษายน 2566 ซึ่งได้ให้การผ่าตัดรักษาซ่อมแซมภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ไป จำนวน 32 ราย และยังคงเหลือผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกจำนวน 17 ราย ดังนั้น เพื่อให้การช่วยเหลือผ่าตัดรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยรักษาผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการอื่นๆ เสริมสร้างศักยภาพในการดูแลรักษา ผ่าตัดและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ให้กับทีมสหสาขาวิชาชีพ และฝึกพูดแก่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว…

บริษัท กริทคอนซัลแทนท์ จำกัด บริจาคเงินสมทบทุนกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

ตัวแทนบริษัท กริทคอนซัลแทนท์ จำกัด มอบเงินบริจาคจำนวน 3,300 บาท โดยมี คุณยุพิน ปักกะสังข์ พยาบาลประสานงานการดูแลฯ คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิ และครอบครัวผู้ป่วย เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566

คุณกมลพร เบญจรงคกุล พร้อมครอบครัวและเพื่อน ร่วมบริจาคเงิน จำนวน 440,000 บาท

คุณกมลพร เบญจรงคกุล ครอบครัว และเพื่อน ร่วมกันทำบุญเนื่องในโอกาสวันเกิด “คุณเบล กมลพร” จำนวน 440,000 บาท โดยมี รศ.นพ.พลากร สุรกุลประภา รศ.ทพญ.ดร.ทัศนีย์ วังศรีมงคล คุณยุพิน ปักกะสังข์ และคุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566

“โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 11” (ค่ายตะวันฉาย)

มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า จัด “โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 11” (ค่ายตะวันฉาย) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์ค้ำคูณ อ.อุบลรัตน์ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยเอก พงเจตน์ พรกุณา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ พร้อมด้วย คุณเครือวัลย์ ชาญนุวงศ์ กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่นและกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ  รศ.ดร.ทพญ.ทัศนีย์ วังศรีมงคล กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ คุณภาณี เดชาสถิตย์ หัวหน้าหอผู้ป่วย 3 ค. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คุณสุทธิกานต์ ก่อสกุล หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์และกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ บุคลากรทางการแพทย์ และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในพิธี ณ ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1.เพื่อให้บริการที่สมบูรณ์แบบในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า…

น.ส.ชนกนันท์ สาหมาน และน.ส.ชนกนาถ สาหมาน

น้องชนกนันท์และน้องชนกนาถหรือน้องปูกับน้องปอ สองสาวฝาแฝดที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่สองข้างมาตั้งแต่กำเนิด พร้อมมีภาวะกลุ่มอาการโรคร่วม คือ  Ankyloblepharon-Ectodermal Defects-Cleft Lip/Palate (AEC) Syndrome in Monozygotic Twins (Hay-Wells syndrome) ซึ่งมีความผิดปกติของ ฟัน ต่อมเหงื่อ ผิวหนัง ผม นิ้ว ตา และหู ร่วมด้วย  น้องเกิดและเติบโตที่จังหวัดอุบลราชธานี ในปีพ.ศ.2548 โดยอาศัยอยู่กับพ่อ แม่ ป้า และพี่สาวคอยดูแล ครอบครัวของน้องปูและน้องปอไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าลูกของตนจะมีภาวะเช่นนี้  รวมทั้งรู้สึกกังวลและสงสารลูกทั้งสองเป็นอย่างมาก และหวังว่าจะมีทางรักษาให้กับลูกสาวทั้งสองของตนให้หายจากภาวะโรค และมีชีวิตที่เป็นปกติเหมือนเด็กคนอื่นๆ ครอบครัวของน้องสองแฝดได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์และพยาบาลของศูนย์ตะวันฉาย รวมทั้ง กุมารแพทย์ แพทย์ผิวหนัง แพทย์พัฒนาการและทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีการให้คำแนะนำวิธีการดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ที่ถูกต้อง  ตั้งแต่การให้นมและสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย การดูแลความสะอาดของผิวหนัง จนกระทั่งได้เข้ารับการผ่าตัด ซึ่งจะช้ากว่าเด็กอื่นๆที่ร่างกายและน้ำหนักพร้อม โดยเข้ารับการผ่าตัดครั้งแรก เมื่ออายุได้  11 เดือน ผลการตรวจหู พบภาวะรูหูแคบกว่าเด็กคนอื่นๆ ได้ยินเสียงในระดับ  40 เดซิเบล ซึ่งการได้ยินต่ำกว่าปกติ  ฝึกพูด…

นศพ.ปัณณฑร จิรัฐพิกาลพงศ์ หรือ ปันปัน

ปันปัน นักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น นางสาวปัณณฑร หรือน้องปันปัน เด็กสาวที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตอนที่คุณพ่อและคุณแม่ของน้องปันปันรู้ว่าลูกของตนเกิดมาในภาวะเช่นนี้ ทางครอบครัวไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาวะนี้เลย และในขณะนั้นเองศูนย์การดูแลในกลุ่มโรคนี้ยังมีไม่ค่อยมากนัก  แต่แล้วก็ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์ตะวันฉายและมูลนิธิตะวันฉายฯ ทำให้คุณพ่อและคุณแม่หายกังวลใจ เมื่อทราบว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ น้องปันปันเข้ารับการรักษาและผ่าตัดครั้งแรกเมื่ออายุได้ 3 เดือน ผ่าตัดครั้งที่สองเมื่ออายุ 11 เดือน โดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากทำการผ่าตัด ก็ได้รับการดูแลด้านอื่นๆด้วย โดยได้รับการฝึกพูดและจัดฟันเมื่ออยู่ในช่วงระหว่างการศึกษาระดับมัธยมศึกษา กระทั่งน้องสามารถพูดได้อย่างชัดเจนและคล่องแคล่ว น้องปันปันสามารถก้าวผ่านอุปสรรคและความยากลำบากต่างๆมาได้ เนื่องจากความรัก ความดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว และการดูแลที่เหมาะสมจากทีมแพทย์ พยาบาล นักแก้ไขการพูดและทันตแพทย์ตั้งแต่ยังเด็ก จนน้องหายเป็นปกติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลยสำหรับน้องปันปัน นอกจากนั้นแล้วน้องปันปันยังมีความฝันอยากที่จะเป็นหมอ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอื่นๆ เหมือนอย่างที่น้องเคยได้รับความช่วยเหลือและความเอาใจใส่เมื่อวัยเด็กจากทุกคนรอบๆตัวน้อง นอกจากความสามารถด้านการศึกษาแล้ว น้องปันปันยังมีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีอีกด้วย น้องสามารถเล่นเปียโนได้อย่างเชี่ยวชาญและเคยมาเล่นให้กับทีมผู้รักษาของศูนย์ตะวันฉายในงานสำคัญต่างๆด้วย ปัจจุบัน น้องปันปัน กำลังศึกษาอยู่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งน้องสามารถทำตามความฝันที่ตนเองตั้งใจไว้ พร้อมทั้งสามารถยิ้มได้อย่างมีความสุขและมีความมั่นใจในทุกๆวัน น้องปันปัน ขอขอบคุณ สมาล์ยเทรนและมูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า (ภายใต้โครงการพระราชทานตะวันฉาย) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครอบครัวและเพื่อนๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างรอยยิ้มให้แก่น้องปันปัน ในความตั้งใจอันดีของน้องปันปันและการสนับสนุนจากครอบครัวน้องปันปัน…

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้จัดคอนเสิร์ต Soundkaen Music Festival มอบของบริจาคให้แก่มูลนิธิตะวันฉายฯ

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ดร.ปรวรรณ เสนาไชย วิชาเอกการตลาด และนักศึกษาทีมงานผู้จัดคอนเสิร์ต Soundkaen Music Festival ส่งมอบของบริจาคที่ได้รับจาคผู้สนับสนุน โดยมี ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิ รศ.ดร.ทพญ.ทัศนีย์ วังศรีมงคล และคุณยุพิน ปักกะสังข์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉาย และเจ้าหน้าที่มูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566

โครงการ การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โรงพยาบาลสกลนคร โดยใช้โมเดลการดูแลของศูนย์ตะวันฉาย

มูลนิธิตะวันฉายฯ ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลสกลนคร ร่วมกันจัดโครงการ การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โรงพยาบาลสกลนคร โดยใช้โมเดลการดูแลของศูนย์ตะวันฉาย โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กาชาดจังหวัดสกลนคร สโมสรโรตารีกรุงเทพ และองค์กร Smile Train ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2568 เพื่อนำโมเดลการดูแลรักษาที่สมบูรณ์แบบของศูนย์ตะวันฉาย มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่โรงพยาบาลสกลนคร เพื่อบูรณาการและเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลผ่าตัดรักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ โดยการบริการวิชาการและบริการสุขภาพ เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในการดูแลสุขภาพและสุขภาวะของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ท่านสุพัตรา แร่ทอง (รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสกลนคร) นพ.พูลสวัสดิ์ วงศ์วิชิต (รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.สกลนคร) รศ.นพ.พูนศักดิ์ ภิเศก (ผู้อำนวยการศูนย์ตะวันฉาย) รศ.นพ.พลากร สุรกุลประภา (ประธานกรรมการศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ) ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น (ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ) ศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี (ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขการพูดและภาษา)…

คุณธีระ ฤทธิรอด บริจาคเงิน จำนวน 3,000 บาท

คุณธีระ ฤทธิรอด บริจาคเงิน จำนวน 3,000 บาท โดยมี คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิ เป็นผู้รับมอบ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566