โครงการสาธารณกุศลเพื่อพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ประจำปี พ.ศ. 2554 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2555

สมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ 1 ของโครงการตะวันฉาย มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อ เป็นศูนย์กลางการประสานงานของบุคลากรของทีมสหวิทยาการในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางของการประสานงานเพื่อการพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมและมาตรฐานของการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในประเทศไทย รวมถึงการจัดการศึกษา ฝึกอบรมและการทำวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยส่งเสริมการทำงานแบบทีมสหวิทยาการและความร่วมมือแบบสหสถาบัน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาวิจัยและการพัฒนาทางด้านวิชาการดังวัตถุประสงค์ข้อที่ 2.3 คือ สนับสนุนการค้นคว้าและการวิจัยเพื่อการป้องกันปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการทางศีรษะและการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล และข้อที่ 2.5 ในด้านดำเนินกิจกรรมหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ ด้านสาธารณประโยชน์ ดังนั้นเพื่อสนับสนุนสมาคมความพิการปาแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย เพื่อให้มีการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน มีบทบาทเหมาะสมของการเป็นศูนย์กลางการประสานงานเพื่อการพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมและมาตรฐานของการดูแลผู้พิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะในประเทศไทย มูลนิธิตะวันฉายจึงได้สนับสนุนเงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อสนับสนุนและร่วมสมทบทุนการจดทะเบียนเป็น “มูลนิธิสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่  ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย” เพื่อเป็นแหล่งทุนสนับสนุนให้กับสมาคมฯ ให้มีความยั่งยืนต่อไป

ค่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบในชุมชน ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554

มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้จัดกิจกรรม “ค่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบในชุมชน” ร่วมกับโครงการ “การติดตามค่ายและการฝึกพูดตามรูปแบบในชุมชน” โดยมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับคลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลรักษาผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง  เพดานโหว่ของบุคลากรด้านสาธารณสุขในชุมชน และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่แบบองค์รวม และพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ในการร่วมกันดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อให้ถ่ายทอดองค์ความรู้และคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยแก่ชุมชนอื่นๆ ต่อไปได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน เพื่อให้สามารถช่วยฝึกพูดเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยได้ รวมถึงมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างเป็น     องค์รวม จากทีมสหวิทยาการที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกค่าย ทั้งหมด 6 ครั้ง ณ ห้องประชุมตักศิลา โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วมจาก 6 อำเภอ จำนวนรวม   16 ครอบครัว ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 6 อำเภอในจังหวัดมหาสารคามที่ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วม อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย อำเภอบรบือ อำเภอเชียงยืน อำเภอวาปีปทุม รายชื่อครอบครัวผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรม ครอบครัวด.ช.เอเชีย ไชยกองชา อายุ 7 ปี         อำเภอเมืองมหาสารคาม…

โครงการสาธารณกุศลเพื่อการฝึกพูดผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ประจำปี พ.ศ. 2554 (โครงการต่อเนื่อง)

จากปัญหาความขาดแคลนบุคลากรนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้สนับสนุนงบประมาณโครงการสาธารณกุศลเพื่อการฝึกพูดผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ในปี พ.ศ. 2553 แก่นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย สังกัดภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 2 อัตรา ได้แก่ นางสาวเพชรรัตน์ ใจยงค์ และนางสาวชลดา สีพั้วฮาม เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหวิทยาการในการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดยมีบทบาทหน้าที่ในด้านต่างๆ ดังนี้ การตรวจคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ การตรวจวินิจฉัยปัญหาทางภาษาและการพูด -การออกเสียงพูดไม่ชัด -พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า การบำบัด แก้ไขและฟื้นฟู -การออกเสียงพูดไม่ชัด -พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า การบำบัด แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพทางภาษาและการพูด การให้คำแนะนำและความรู้ การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ การส่งต่อผู้รับบริการ การออกเยี่ยมชุมชน การให้คำแนะนำการบำบัด แก้ไขและฟื้นฟูแก่ผู้ป่วยและผู้ปกครอง การปฏิบัติหน้าอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการเข้าประชุม และการเข้าอบรมต่างๆ

คุณสลิตา ประวิตรกาญจน์

มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้สนับสนุนผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง  เพดานโหว่ให้ได้รับโอกาสในการแสดงศักยภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งได้สนับสนุน นางสาวสลิตา ประวิตรกาญจน์ ให้ปฏิบัติงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ทะเบียนและประเมินผล โดยมีบทบาทหน้าที่เป็นสื่อกลางในการดำเนินงานให้บริการผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่อื่นๆ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาตนเองจนกระทั่งปฏิบัติงานและอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างเป็นปกติ ตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานข้อที่ 2 คือสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัวและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า

รางวัลมีชัย วีระไวทยะ ประจำปี พ.ศ. 2554 (สาขาการพัฒนาสังคมชนบท) จากสมาคมพัฒนาประชากรและชุม เนื่องในโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม โดยมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนและมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ ได้พิจารณาคัดเลือกบุคคลและองค์กรที่ทำความดีเพื่อสังคมในสาขาการพัฒนาสังคมชนบท เพื่อรับรางวัลมีชัย วีระไวทยะ (สาขาการพัฒนาสังคมชนบท) ดังกล่าว มีการเสนอผลงานของบุคคลและองค์กรจำนวน 19 ราย เพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก ครอบคลุมงานด้านการพัฒนาชนบทที่หลากหลาย เช่น การส่งเสริมงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง งานสาธารณสุขและสุขภาพ งานพลังงานทดแทน การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และ       ผู้พิการ คณะกรรมการตัดสินเห็นชอบให้  ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า จ.ขอนแก่น เป็นบุคคลที่สมควรยกย่องให้ได้รับรางวัลมีชัย วีระไวทยะ ประจำปี 2554 เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีจิตสาธารณะและมีผลงานดีเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะ การจัดตั้งโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายของทีมงานการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าที่ต้องการการดูแลรักษาแบบองค์รวมและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่เด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดยมีมูลนิธิตะวันฉายฯ เป็นองค์กรที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่มีการละเลยปัญหาหรือเกิดการรักษาที่ซ้ำซ้อน โดยศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ได้แสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยที่ยากไร้ ขาดแคลน ยังมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ หรือยังไม่ได้รับโอกาสทางการรักษา และมุ่งขยายผลการดำเนินงานลงสู่ชุมชนให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายผู้ดูแลให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการรักษา การส่งต่อเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ…

คุณสุวิมล-คุณอริศร์ ยังประภากร บริจาคเงิน จำนวน 5,000 บาท

คุณจรรยพร ยังประภากรและครอบครัว เป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคจากคุณสุวิมล-คุณอริศร์ ยังประภากร จำนวน 5,000 บาท และถ่ายภาพร่วมกับทีมทันตแพทย์หญิง ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นนักวิจัยภายใต้ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554

ด.ช.นฤต ยังประภากร พร้อมด้วยคุณพ่อและคุณแม่ บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท

ด.ช.นฤต ยังประภากร พร้อมด้วยคุณพ่อและคุณแม่ บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท รับมอบโดย คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิและพยาบาลประสานงานฯ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คุณจรรยาพร ยังประภากร บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท

คุณจรรยาพร ยังประภากร บริจาคเงินจำนวน 5,000 บาท รับมอบโดย คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิและพยาบาลประสานงานฯ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

คุณรังสี ชาญนุวงศ์ บริจาคเงินจำนวน 1,000 บาท

คุณเครือวัลย์ ชาญนุวงศ์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคจากคุณรังสี ชาญนุวงศ์ จำนวน 1,000 บาท รับมอบโดย คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิและพยาบาลประสานงานฯ ณ ศูนย์ตะวันฉาย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น และรศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี ถวายรายงานผลการดำเนินกิจกรรมแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารสิริคุณากร (อาคารอเนกประสงค์และสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ แก่สภามหาวิทยาลัย คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ศิษย์เก่า และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นทั้งหมด ในการดังกล่าว ฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้จัดเตรียมนิทรรศการโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ผลงานด้านการวิจัย และผลงานในกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย (ศูนย์ตะวันฉาย) ได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงานด้านการวิจัย และผลงานด้านบริการในนามของมูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า ซึ่งผู้ถวายรายงาน ได้แก่ ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ผู้อำนวยการศูนย์ตะวันฉาย และประธานกรรมการมูลนิธิ  ตะวันฉายฯ และ รศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี กรรมการศูนย์ตะวันฉายและกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ โดยได้ถวายรายงานในด้านต่างๆ ได้แก่ การรักษาโดยทีมสหวิทยาการตามช่วงอายุ ผลลัพธ์การรักษา ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นวัตกรรมของศูนย์วิจัย ด้านบทบาทของมูลนิธิตะวันฉายฯ อาทิเช่น การจัดโครงการการฝึกพูดและการดูแลแบบ…