โครงการเอไอเอและมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมใจ สร้างรอยยิ้ม ปีที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555

จากความร่วมมือในการจัดโครงการเอไอเอและมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมใจ สร้างรอยยิ้ม ปีที่ 2 ที่ได้ให้การสนับสนุนการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และผู้ป่วยกลุ่มความพิการร่วมอื่นๆ รวม 80 ราย ให้ได้รับการผ่าตัดรักษาแก้ไขภาวะความพิการแต่กำเนิด ในปีพ.ศ. 2552 ระหว่างศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาล   ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม (Operation Smile Thailand) จากการสนับสนุนของบริษัทอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนล เอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ) ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง สามารถดำเนินการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยจำนวน 80 รายได้ครบถ้วน ภายในระยะเวลาเพียง 7 เดือน ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ดังนั้นในปีพ.ศ. 2554 มูลนิธิตะวันฉายฯ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และบริษัทอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนล เอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ) จึงได้ร่วมจัดโครงการเอไอเอและมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมใจ สร้างรอยยิ้ม ปีที่ 2 อีกครั้ง โดยจัดพิธีเปิดโครงการเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑ์สมเด็จย่า ชั้น…

กิจกรรมโรงทานในพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่ เป็นกรณีพิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2554 ระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่ เป็นกรณีพิเศษประจำปี พ.ศ. 2554 ระหว่างวันที่ 4-6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ภายในงานมีการร่วมพิธีตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 150 รูป และการฟังพระธรรมเทศนา โดยมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงภาคเอกชนต่างๆ ที่มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันจัดโรงทานเพื่อให้บริการแจกจ่ายอาหารและเครื่องดื่มแก่ญาติครูใหญ่ที่เดินทางมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก โดยมูลนิธิ      ตะวันฉายฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโรงทานแจกอาหารและเครื่องดื่ม และได้รับมอบเกียรติบัตรขอบคุณจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติมอบโดย ผศ.นพ.นเรศ วโรภาสตระกูล รองคณบดีฝ่ายบริหาร และ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รองคณบดีฝ่ายโรงพยาบาล และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์

กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในเขตจังหวัดชัยภูมิ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิ และเจ้าหน้าที่ ได้จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในเขตจังหวัดชัยภูมิ โดยเข้าเยี่ยมผู้ป่วยรายแรกที่โรงเรียนเทคโนโลยีภูเขียว อ.ภูเขียว คือ น.ส.มินตรา ผลเจริญ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาคอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยโรคงวงช้างในมูลนิธิตะวันฉายฯ ซึ่งได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นจาก อ.สมโพธ เพลียครบุรี รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ อ.กุลวดี ฉัตรชัยพลรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาองค์กร และ อ.อำไพ สวัสดี อาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมนี้ มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้มอบทุนการศึกษาจำนวน 3,000 บาท พร้อมด้วยอุปกรณ์กีฬาแก่โรงเรียนเทคโนโลยีภูเขียวด้วย จากนั้น ได้เข้าเยี่ยม น.ส.วาด ทองนาค ผู้ป่วยโรคงวงช้าง ที่หมู่บ้านหัวหนอง อ.ภูเขียว โดยการแนะนำจากมารดาของน.ส.มินตรา ผลเจริญ ซึ่งเป็นเครือข่ายจิตอาสาของมูลนิธิตะวันฉายฯ โดยมูลนิธิ     ตะวันฉายฯ ได้ตรวจประเมินสภาพร่างกายเบื้องต้นและลงทะเบียนผู้ป่วยเพื่อนัดทำการรักษาต่อไป พร้อมกับได้มอบเงินช่วยเหลือจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ได้มีกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มชาวบ้านมารอพบทีมมูลนิธิตะวันฉายฯ ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคนิวโรไฟโบมาโตรซีส 1 ราย และผู้ป่วยโรคทางเดินน้ำเหลืองอุดตันที่ขาซ้าย 1 ราย ซึ่งมูลนิธิจะให้การช่วยเหลือต่อไป…

กิจกรรมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ประจำปี พ.ศ. 2554 วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2554 ณ บ้านหนองหัวช้าง ม.8, 13, 16 ต.หนองแปน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กิจกรรมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พอ.สว. ได้ออกให้บริการตรวจรักษาแก่ประชาชนในพื้นที่บ้านหนองหัวช้าง หมู่.8, 13, และหมู่ 16 ต.หนองแปน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น โดยมีคณะกรรมการดำเนินงาน ซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประมาณ 300 คน ให้บริการตรวจและรักษาแก่ประชาชน จำนวนประมาณ 500 คนที่มารอรับการบริการ ตั้งแต่เวลา 8.00 น.-15.00 น. โดยมีการแบ่งการให้บริการเป็นหน่วยต่างๆ ผู้ที่มารอรับการตรวจจะได้รับการลงทะเบียนคัดกรองเบื้องต้นและส่งตัวไปรักษาตามหน่วยให้บริการด้านต่างๆ อาทิเช่น หน่วยตรวจมะเร็งเต้านม หน่วยตรวจมะเร็งปากมดลูก หน่วยให้บริการรักษาทางทันตกรรม นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมและนิทรรศการ  ให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษา และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ แก่ผู้มารอรับการตรวจอีกด้วย โดยมีรศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นหัวหน้าคณะทำงานหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ในครั้งนี้ ซึ่งมูลนิธิตะวันฉายฯ ได้ร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโรคปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการทางศีรษะและใบหน้า การติดต่อเพื่อขอเข้ารับการรักษา และการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ และได้มีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์จาก    สื่อต่างๆ เช่น แผ่นพับ หนังสือคู่มือ ภาพประกอบ หุ่นจำลองภาวะโรค และกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลของที่ระลึกเป็นกระเป๋ามูลนิธิตะวันฉายฯ จำนวน 10…

.โครงการความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผ่าตัดในผู้ที่มีภาวะ ปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้าแบบสหวิทยาการ (Tawanchai Outreach Program) ระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม พ.ศ. 2554

มูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาสตรีภาคเหนือ สมาคมวาย.เอ็ม.ซี.เอ เชียงราย และโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค จังหวัดเชียงราย ในการเผยแพร่องค์ความรู้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้าแบบสหวิทยาการ เช่น การบรรยายด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในด้านต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเทคนิคการผ่าตัดผู้ป่วย รวมถึงกิจกรรมการจัดค่ายแก้ไขการพูดรูปแบบชุมชน: สำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ยังมีความบกพร่องด้านการพูด-สื่อภาษา นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการหาแนวทางร่วมกับ Mr.Esteban Lasso Executive Director of Transforming Faces Worldwide (TFW) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในระดับชาติ และแหล่งทุนที่จะให้การสนับสนุนเพื่อความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับนานาชาติ โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบสหวิทยาการในครั้งนี้ ได้ให้การผ่าตัดรักษาแก่ชาวเขาเผ่าลาหู่ 1 ราย เด็กหญิงชาวพม่า 1 ราย คนไทย 1 ราย และมีกลุ่มครอบครัวที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายฝึกพูด 16 ครอบครัว

โครงการสาธารณกุศลเพื่อพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ประจำปี พ.ศ. 2554 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2555

สมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ 1 ของโครงการตะวันฉาย มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อ เป็นศูนย์กลางการประสานงานของบุคลากรของทีมสหวิทยาการในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางของการประสานงานเพื่อการพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมและมาตรฐานของการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในประเทศไทย รวมถึงการจัดการศึกษา ฝึกอบรมและการทำวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยส่งเสริมการทำงานแบบทีมสหวิทยาการและความร่วมมือแบบสหสถาบัน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาวิจัยและการพัฒนาทางด้านวิชาการดังวัตถุประสงค์ข้อที่ 2.3 คือ สนับสนุนการค้นคว้าและการวิจัยเพื่อการป้องกันปากแหว่ง เพดานโหว่และความพิการทางศีรษะและการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล และข้อที่ 2.5 ในด้านดำเนินกิจกรรมหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ ด้านสาธารณประโยชน์ ดังนั้นเพื่อสนับสนุนสมาคมความพิการปาแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย เพื่อให้มีการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน มีบทบาทเหมาะสมของการเป็นศูนย์กลางการประสานงานเพื่อการพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมและมาตรฐานของการดูแลผู้พิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะในประเทศไทย มูลนิธิตะวันฉายจึงได้สนับสนุนเงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อสนับสนุนและร่วมสมทบทุนการจดทะเบียนเป็น “มูลนิธิสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่  ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย” เพื่อเป็นแหล่งทุนสนับสนุนให้กับสมาคมฯ ให้มีความยั่งยืนต่อไป

ค่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบในชุมชน ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554

มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้จัดกิจกรรม “ค่ายสร้างเสริมสุขภาพผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ตามรูปแบบในชุมชน” ร่วมกับโครงการ “การติดตามค่ายและการฝึกพูดตามรูปแบบในชุมชน” โดยมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับคลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลรักษาผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง  เพดานโหว่ของบุคลากรด้านสาธารณสุขในชุมชน และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่แบบองค์รวม และพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ในการร่วมกันดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อให้ถ่ายทอดองค์ความรู้และคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยแก่ชุมชนอื่นๆ ต่อไปได้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน เพื่อให้สามารถช่วยฝึกพูดเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยได้ รวมถึงมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างเป็น     องค์รวม จากทีมสหวิทยาการที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกค่าย ทั้งหมด 6 ครั้ง ณ ห้องประชุมตักศิลา โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วมจาก 6 อำเภอ จำนวนรวม   16 ครอบครัว ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 6 อำเภอในจังหวัดมหาสารคามที่ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วม อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย อำเภอบรบือ อำเภอเชียงยืน อำเภอวาปีปทุม รายชื่อครอบครัวผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรม ครอบครัวด.ช.เอเชีย ไชยกองชา อายุ 7 ปี         อำเภอเมืองมหาสารคาม…

โครงการสาธารณกุศลเพื่อการฝึกพูดผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ประจำปี พ.ศ. 2554 (โครงการต่อเนื่อง)

จากปัญหาความขาดแคลนบุคลากรนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้สนับสนุนงบประมาณโครงการสาธารณกุศลเพื่อการฝึกพูดผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ในปี พ.ศ. 2553 แก่นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย สังกัดภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 2 อัตรา ได้แก่ นางสาวเพชรรัตน์ ใจยงค์ และนางสาวชลดา สีพั้วฮาม เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหวิทยาการในการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดยมีบทบาทหน้าที่ในด้านต่างๆ ดังนี้ การตรวจคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ การตรวจวินิจฉัยปัญหาทางภาษาและการพูด -การออกเสียงพูดไม่ชัด -พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า การบำบัด แก้ไขและฟื้นฟู -การออกเสียงพูดไม่ชัด -พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า การบำบัด แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพทางภาษาและการพูด การให้คำแนะนำและความรู้ การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ การส่งต่อผู้รับบริการ การออกเยี่ยมชุมชน การให้คำแนะนำการบำบัด แก้ไขและฟื้นฟูแก่ผู้ป่วยและผู้ปกครอง การปฏิบัติหน้าอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการเข้าประชุม และการเข้าอบรมต่างๆ

คุณสลิตา ประวิตรกาญจน์

มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้สนับสนุนผู้ที่มีภาวะปากแหว่ง  เพดานโหว่ให้ได้รับโอกาสในการแสดงศักยภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งได้สนับสนุน นางสาวสลิตา ประวิตรกาญจน์ ให้ปฏิบัติงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ทะเบียนและประเมินผล โดยมีบทบาทหน้าที่เป็นสื่อกลางในการดำเนินงานให้บริการผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่อื่นๆ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาตนเองจนกระทั่งปฏิบัติงานและอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างเป็นปกติ ตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานข้อที่ 2 คือสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัวและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า