มูลนิธิตะวันฉายฯ ออกเยี่ยมบ้านและโรงเรียนน้องตะวันฉายเพื่อประเมินผลลัพธ์การดูแลรักษา และคุณภาพชีวิต

เมื่อวันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า ประกอบด้วย คุณสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ คุณยุพิน ปักกะสังข์ พยาบาลประสานงานศูนย์การดูแลผู้ป่วยฯ คุณหัฎฐกร สำเร็จดี นักจิตวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คุณวัชรพงษ์ เจริญสุข นักสงคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คุณนงลักษณ์ แสนธารณะ เจ้าหน้าที่ธุรการมูลนิธิตะวันฉายฯ และคุณนันท์นลิน มุ่งมานิตย์มงคล เจ้าหน้าที่บัญชีและการเงินมูลนิธิตะวันฉายฯ ออกเยี่ยมบ้านน้องตะวันฉาย จังหวัดยโสธร เพื่อประเมินผลลัพธ์การดูแลรักษา คุณภาพชีวิต และมอบทุนการศึกษา โดยมี เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ คุณโสฬส บุญทศ นายกอบต.กระจาย คุณสพรั่งศักดิ์ สิงหา รองนายกอบต.กระจาย คุณกรอบศักดิ์ ศรีเมืองบุญ เลขานุการอบต.กระจาย คุณอฎาภา เครือศรี รองปลัดอบต.กระจาย พ.จ.อ.ศตวรรษ นามโคตร หัวหน้างานพัฒนาชุมชนอบต.กระจาย คุณศุภชัย…

มูลนิธิตะวันฉายฯ มอบเงินช่วยเหลือ ด.ญ.จรรยพร สีหะนาท จำนวน 10,000 บาท

มูลนิธิตะวันฉายฯ มอบเงินช่วยเหลือ น้องออม หรือ เด็กหญิงจรรยพร สีหะนาท ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ อายุ 10 ปี น้องออมขาดการรักษาด้านภาวะปากแหว่งเพดานโหว่มาประมาณ 3 ปี  เนื่องจากมีภาวะแขนขาอ่อนแรง (เดินและพูดไม่ได้) มีอาการปอดอักเสบโดยได้เข้ารับการรักษาที่ห้อง ICU โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ปัจจุบันคุณหมอแจ้งว่าสามารถกลับบ้านได้ แต่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เครื่องดูดเสมหะ และจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องอากาศและปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่บ้าน เนื่องจากเป็นบ้านเช่าที่มีไฟฟ้ากำลังต่ำ และทำเป็นร้านรับซัก-รีด ซึ่งมีฝุ่นละอองเยอะ ด้วยเหตุนี้คุณแม่จึงได้ขอความช่วยเหลือจากทางมูลนิธิตะวันฉายฯ เป็นจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลน้องออม มูลนิธิได้มอบเงินจำนวน 10,000 บาท ตามที่คุณแม่ของน้องออมร้องขอมา โดยได้รับความอนุเคราะห์จากทีมพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ในการส่งมอยเงินช่วยเหลือและประสานงานการดูแลน้องออมต่อไป

มูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับศูนย์ตะวันฉาย ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในจังหวัดขอนแก่น

เมื่อ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 นางสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เด็กชาย คงเดช สีเชียงพิมพ์ ที่ ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ รศ.ดร.ทพ.พูนศักดิ์ ภิเศก หัวหน้าสาขาวิชาและแขนงวิชาทันตกรรมจัดฟัน และ อ.ดร.ทพญ.พุทธธิดา วังศรีมงคล ทันตแพทย์จัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ พร้อมด้วย นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่ศูนย์ตะวันฉาย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อตรวจประเมินสุขภาพร่างการ และจิตสังคม โดยใช้ นวัตกรรมดิจิตอลเพื่อสุขภาพ KKU INNOVATION OF DIGITAL HEALTHCARE

มูลนิธิตะวันฉายฯ กับการดูแลผู้ป่วยแบบ Comprehensive Care ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร

มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ และเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการดูแลผู้ป่วยที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive Care) 5 ด้าน ได้แก่ด้าน สุขภาพ (Health) การศึกษา (Education)  การดำรงชีวิต (Livelihood) สังคม (Social) และการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) เพื่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainable) ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเท่าเทียมและมีคุณค่า ตอบแทนสู่สังคมได้ ซึ่งยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ยังไม่เข้าถึงการบริการ ที่เป็น Comprehensive care  และยังไม่สามารถติดตามการดูแลรักษา และรับการรักษาตามแนวทางของแต่ละช่วงอายุ ทำให้ไม่สามารถประเมินผลการรักษาทั้งในวัยผู้ใหญ่และตามช่วงอายุที่สำคัญได้อย่างครบถ้วน มูลนิธิตะวันฉายฯ จึงได้จัดโครงการ “Comprehensive Care และเยี่ยมติดตามผู้ป่วยของมูลนิธิตะวันฉายฯ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร” ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน 2564 โดย ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เคยได้เข้าร่วมโครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทายาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย…

มูลนิธิตะวันฉายฯ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วย

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 มูลนิธิะวันฉายฯ ลงพื้นทีเยี่ยมบ้าน เด็กหญิงสุพรรษา อ่อนก้านเหลือง ณ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดย รศ.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์สาขาส่งเสริมการเกษตรและเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ ที่ปรึกษาของมูลนิธิตะวันฉายฯ เจ้าหน้าที่มูลนิธิตะวันฉายฯ และนักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (วิชาเอกพัฒนาสังคม) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อสอบถามด้านความเป็นอยู่ และดูพื้นที่การเกษตรซึ่งได้รับทุนกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพจากมูลนิธิตะวันฉายฯ

มูลนิธิตะวันฉายฯ ออกเยี่ยมบ้าน ด.ญ.กันต์ฤทัย วิลาส เพื่อประเมินผลลัพธ์การดูแลรักษา และคุณภาพชีวิต

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 19 กรฎาคม 2563 ทีมเยี่ยมบ้านมูลนิธิตะวันฉายฯ ประกอบด้วย คุณยุพิน ปักกะสังข์ (พยาบาลประสานงานศูนย์การดูแลฯ) คุณชณัติพร ชลไพร (นักจิตวิทยา) คุณวัชรพงษ์ เจริญสุข (นักสังคมสงเคราะห์) คุณโยษิตา จันทิมา (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการเยี่ยมบ้านฯ) และ คุณพัทธ์ชนก เชาวน์ชื่น  (ผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิตะวันฉายฯ) ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ด.ญ.กันต์ฤทัย วิลาส ณ ตำบลหนองผือ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อประเมินสุขภาพติดตามการรักษา และประเมินปัญหาด้านอื่นๆ ทางมูลนิธิได้ประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และครูที่ปรึกษามาร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ โดยมีผู้ร่วมเยี่ยมบ้านจำนวน 9 คน ดังนี้ นางภัทรา ผือโย                 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านข่าใหญ่ นางทองปัก แสงหัวช้าง      ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน…

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเยี่ยมผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่แบบบูรณาการในพื้นที่เขต 7 (จังหวัดกาฬสินธุ์)

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 มูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับทีมสหวิทยาการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในจังหวัดกาฬสินธุ์ ในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเยี่ยมผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่แบบบูรณาการในพื้นที่เขต 7 จำนวน 5 ราย ได้แก่ นายณัฐพล คาคำลอง นายธนากร ภูมิทอง น.ส.พิมพ์สุดา กันทีศักดิ์ น.ส.รัชมัยพร ศรีเสน และเด็กชายอนุชิต นีรโคต โดยมีทีมเยี่ยมบ้านประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ คุณดาราวรรณ อักษรวรรณ คุณสุนทรี น้ำใจทหาร คุณยุพิน ปักกะสังข์ คุณสุมาลี พงศ์ผกาทิพย์ คุณดวงแก้ว รอดอ่อง คุณวัชราวรรณ วงศ์เครือศร  นักจิตวิทยาคลินิก ได้แก่ คุณชณัติพร ชลไพร คุณสาวรสมา สมไชย และคุณหัฏฐกร สำเร็จดี นักสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ คุณวัชรพล เจริญสุข และเจ้าหน้าที่มูลนิธิตะวันฉาย ได้แก่ คุณโยษิตา จันทิมา…

กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในเขตจังหวัดชัยภูมิ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิ และเจ้าหน้าที่ ได้จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในเขตจังหวัดชัยภูมิ โดยเข้าเยี่ยมผู้ป่วยรายแรกที่โรงเรียนเทคโนโลยีภูเขียว อ.ภูเขียว คือ น.ส.มินตรา ผลเจริญ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาคอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยโรคงวงช้างในมูลนิธิตะวันฉายฯ ซึ่งได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นจาก อ.สมโพธ เพลียครบุรี รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ อ.กุลวดี ฉัตรชัยพลรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาองค์กร และ อ.อำไพ สวัสดี อาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมนี้ มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้มอบทุนการศึกษาจำนวน 3,000 บาท พร้อมด้วยอุปกรณ์กีฬาแก่โรงเรียนเทคโนโลยีภูเขียวด้วย จากนั้น ได้เข้าเยี่ยม น.ส.วาด ทองนาค ผู้ป่วยโรคงวงช้าง ที่หมู่บ้านหัวหนอง อ.ภูเขียว โดยการแนะนำจากมารดาของน.ส.มินตรา ผลเจริญ ซึ่งเป็นเครือข่ายจิตอาสาของมูลนิธิตะวันฉายฯ โดยมูลนิธิ     ตะวันฉายฯ ได้ตรวจประเมินสภาพร่างกายเบื้องต้นและลงทะเบียนผู้ป่วยเพื่อนัดทำการรักษาต่อไป พร้อมกับได้มอบเงินช่วยเหลือจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ได้มีกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มชาวบ้านมารอพบทีมมูลนิธิตะวันฉายฯ ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคนิวโรไฟโบมาโตรซีส 1 ราย และผู้ป่วยโรคทางเดินน้ำเหลืองอุดตันที่ขาซ้าย 1 ราย ซึ่งมูลนิธิจะให้การช่วยเหลือต่อไป…

กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ที่มีภาวะใบหน้าและกะโหลกศีรษะผิดปกติ (Craniosynostosis)

ครานิโอซินออสโตสิส (Craniosynostosis) หมายถึง ภาวะการณ์เชื่อมปิดก่อนกำหนดของรอยแยกกะโหลกศีรษะ หรือฐานกะโหลกศีรษะ ตั้งแต่ 1 แห่งขึ้นไปในทั้งหมด 6 แห่ง ซึ่งในด้านการทำงาน อาจจะหมายถึง การเกิดการเปลี่ยนก่อนกำหนดในบริเวณของการเจริญเติบโต และการสลายตัวระหว่างกระดูกของกระโหลกศีรษะที่อยู่ใกล้กัน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553 มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยครานิโอซินออสโตสิสจำนวนทั้งสิ้น    3 ราย ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดขอนแก่น โดยมีการมอบ คู่มือ พร้อมของใช้ที่จำเป็นบรรจุอยู่ในกระเป๋าของมูลนิธิ ซึ่งการเข้าเยี่ยมบ้านผู้ป่วยฯ จะเป็นการติดตามผลการรักษาพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองโดยพยาบาลชำนาญการในคราวเดียวกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ประวัติผู้ป่วยครานิโอซินออสโตสิส 1) ด.ญ.อรพรรณ สราญรมย์ วัน เดือน ปีเกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2541 ปัจจุบันอายุ 12 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 263/223 ซ. 11 หมู่บ้านเอื้ออาทร…