มูลนิธิตะวันฉายฯ สนับสนุนการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

เนื่องด้วยอุบัติการณ์เกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากที่สุดในประเทศไทย มูลนิธิตะวันฉายฯ ได้เผยแพร่ความรู้และรณรงค์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ผู้กำลังวางแผนครอบครัวหรือเตรียมพร้อมมีบุตร และผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ทำให้การเกิดภาวะปากแหว่งลดลง แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังมีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการทางศีรษะและใบหน้าไม่เพียงพอต่อจำนวนทั่วป่วย และไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ หรือไม่มาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตสังคมของผู้ป่วย ประธานกรรมการมูลนิธิ ศาสตราจารย์นายแพทบ์บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น จึงเห็นความสำคัญในการผลิตแพทย์เพื่อรองรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งต้องรับการักษาจากแพทย์และบุคลกรหลากหลายสาขาเป็นระยะเวลานาน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยในอนาคต จึงได้มอบเงินส่วนหนึ่งในกองทุนเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม ภายใต้มูลนิธิตะวันฉายฯ ซึ่งท่านได้รับจาก “รางวัลมีชัย วีระไวทยะ” ในโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม ปี 2554 โดยมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และคัดเลือกโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (สาขาการพัฒนาสังคมชนบท) เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท จากทั้งหมด 500,000 บาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2565

ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เฝ้าทูลละอองพระบาทกราบบังคมทูลรายงานการรักษานักเรียน

ด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสให้ส่งตัวนักเรียน โรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี จังหวัดสกลนคร จำนวน ๒ ราย ได้แก่ นางสาวจิรพรรณ บริวงค์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และเด็กชายภราดร จิตรัตนดาพร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เข้ารับการรักษาที่ศูนย์ตะวันฉาย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านการผ่าตัดตกแต่งริมฝีปากนั้น ทางศูนย์ตะวันฉาย และมูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า ได้รับผู้ป่วยเข้าไว้ในโครงการพระราชทานตะวันฉาย โดยให้ความช่วยเหลือในการดูแลรักษา ผ่าตัด และฟื้นฟูสภาพที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive Care) ตามแนวทาง Community-Base Rehabilitation (CBR guidelines) ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ (ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่บรรลุมาตรฐานสุขภาพที่เป็นไปได้) ด้านการศึกษา (ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ สามารถเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ มีความรู้สึกว่าตนเองมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า และสามารถที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ด้านการดำรงชีวิต (ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถเข้าถึงการป้องกันทางสังคมและมีรายได้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตอย่างมีเกียรติ…

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปีการศึกษา 2563

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปีการศึกษา 2563 ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2564 . ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น อุปนายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ และกรรมการศูนย์ตะวันฉาย ได้รับเสด็จ และทูลเกล้าฯ ถวาย – รายงานประจำปี 2562 ในโอกาส มูลนิธิตะวันฉายฯ ครบรอบ 10 ปี – ผ้าปักครอสติช ภาพบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ชื่อ “ด้วยรักจากใจ สายใยผูกพัน” ปักโดยสุนีย์ งามสวัสดิ์ – ผ้าไหมทอมือ ลายยกมุก จากศูนย์หัตถกรรมวัดธาตุประสิทธิ์ อ.นาหว้า จ.นครพนม ซึ่งเป็นกลุ่มทอผ้าไหมกลุ่มแรกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังความปลาบปลื้มแก่ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้มีจิตศรัทธา ยิ่งนัก . ขอขอบคุณภาพ งานสื่อสารองค์กร กองกลาง…

มูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมกับศูนย์ตะวันฉาย ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ในจังหวัดขอนแก่น

เมื่อ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 นางสุธีรา ประดับวงษ์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เด็กชาย คงเดช สีเชียงพิมพ์ ที่ ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ รศ.ดร.ทพ.พูนศักดิ์ ภิเศก หัวหน้าสาขาวิชาและแขนงวิชาทันตกรรมจัดฟัน และ อ.ดร.ทพญ.พุทธธิดา วังศรีมงคล ทันตแพทย์จัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ พร้อมด้วย นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่ศูนย์ตะวันฉาย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อตรวจประเมินสุขภาพร่างการ และจิตสังคม โดยใช้ นวัตกรรมดิจิตอลเพื่อสุขภาพ KKU INNOVATION OF DIGITAL HEALTHCARE

ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉาย ร่วมงานกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2564

ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ร่วมงานกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ณ วัดป่าภูตะคาม ต.ท่าศิลา อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

มูลนิธิตะวันฉายฯ ส่งมอบนมกับเเพมเพิสให้ด.ญ.ชุติภา เวียงวงษ์ ซึ่งประสบอุทกภัย

มูลนิธิตะวันฉายฯ ส่งมอบนมกับเเพมเพิสให้ ด.ญ.ชุติภา เวียงวงษ์ เนื่องจากครอบครัวประสบอุทกภัย ที่ อ.ชนบท จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564

โครงการ “การบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น” ครั้งที่ 9

เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2564 มูลนิธิตะวันฉายฯ ภายใต้โครงการพระราชทานตะวันฉาย (ศูนย์ตะวันฉาย) จัด โครงการ “การบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวัถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการบริการที่สมบูรณ์แบบในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า ให้มีความสมบูรณ์แบบครอบคลุมทั้ง 5 ด้านอย่างเป็นระบบ (Comprehensive Care) ได้แก่ สุขภาพ การศึกษา การดำรงชีวิต สังคม และการเสริมสร้างพลังอำนาจ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อย่างบูรณาการ และให้ผู้ป่วยค้นพบตนเองและเห็นคุณค่าในตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายชีวิต วางแผนการศึกษา การประกอบอาชีพ และการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในพิธีเปิดงานโครงการได้รับเกียรติจาก นายสิทธิกุล ภูคำวงศ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น คนที่ 1 เป็นประธานในพิธีแทนท่าน ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น  โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เป็นผู้กล่าวรายงานโครงการ และมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด…

มูลนิธิตะวันฉายฯ กับการดูแลผู้ป่วยแบบ Comprehensive Care ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร

มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ และเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการดูแลผู้ป่วยที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive Care) 5 ด้าน ได้แก่ด้าน สุขภาพ (Health) การศึกษา (Education)  การดำรงชีวิต (Livelihood) สังคม (Social) และการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) เพื่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainable) ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเท่าเทียมและมีคุณค่า ตอบแทนสู่สังคมได้ ซึ่งยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ยังไม่เข้าถึงการบริการ ที่เป็น Comprehensive care  และยังไม่สามารถติดตามการดูแลรักษา และรับการรักษาตามแนวทางของแต่ละช่วงอายุ ทำให้ไม่สามารถประเมินผลการรักษาทั้งในวัยผู้ใหญ่และตามช่วงอายุที่สำคัญได้อย่างครบถ้วน มูลนิธิตะวันฉายฯ จึงได้จัดโครงการ “Comprehensive Care และเยี่ยมติดตามผู้ป่วยของมูลนิธิตะวันฉายฯ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร” ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน 2564 โดย ศ.นพ.บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เคยได้เข้าร่วมโครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทายาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย…

มูลนิธิตะวันฉายฯ สนับสนุนขวดนมพร้อมจุกนมให้แก่ทารกแรกคลอดที่มีปัญหาทางการดูดกลืน

ตามที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลน่าน ได้ขอความอนุเคราะห์ขวดนมพร้อมจุกนมสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อนำไปใช้กับทารกแรกคลอดซึ่งเป็นผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และมีปัญหาทางการดูดกลืนนั้น ทางมูลนิธิได้จัดส่งให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 . ทั้งนี้ หากทางผู้ปกครองท่านใดมีความลำบาก และผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ขวดนมพร้อมจุกนมแบบพิเศษนี้ กรุณาแจ้งแพทย์หรือพยาบาล ณ สถานพยาบาลที่ผู้ป่วยรับการรักษาอยู่ ให้แจ้งความประสงค์ขอรับขวดนมพร้อมจุกนมจากมูลนิธิตะวันฉายฯ ได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ค่ะ . ติดต่อมูลนิธิตะวันฉายฯ โทร. 043-363-123 หรือ แอด Line เบอร์ 08-1185-1151 อีเมล [email protected] หรือ [email protected]

มูลนิธิตะวันฉายฯ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วย

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 มูลนิธิะวันฉายฯ ลงพื้นทีเยี่ยมบ้าน เด็กหญิงสุพรรษา อ่อนก้านเหลือง ณ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดย รศ.ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์สาขาส่งเสริมการเกษตรและเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ ที่ปรึกษาของมูลนิธิตะวันฉายฯ เจ้าหน้าที่มูลนิธิตะวันฉายฯ และนักศึกษาฝึกงาน สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (วิชาเอกพัฒนาสังคม) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อสอบถามด้านความเป็นอยู่ และดูพื้นที่การเกษตรซึ่งได้รับทุนกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพจากมูลนิธิตะวันฉายฯ