สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเครื่องเอ็กซเรย์ MOBii Scan แก่ศูนย์ตะวันฉาย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมายังคลินิกผู้ป่วยนอก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทอดพระเนตรเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติลำรังสีทรงกรวยแบบเคลื่อนย้ายได้ MOBii Scan ผลงานวิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2565 ซึ่งได้พระราชทานเครื่องเอ็กซเรย์ดังกล่าวแก่ศูนย์ตะวันฉาย สำหรับใช้ถ่ายอวัยวะภายในบริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการผ่าตัดรักษา ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัด ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น สามารถคาดการณ์ผลการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำขึ้นโดยใช้โปรแกรม THAICLEFT LINK เป็น web application เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลผู้ป่วย เชื่อมโยงการทำงานระหว่างทีมเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์ในเชิงบูรณาการแบบสหวิทยาการ ซึ่งใช้ข้อมูลเดินทางแทนการเดินทางจริงของผู้ป่วย ทีมผู้รักษาไม่ต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โอกาสนี้ทอดพระเนตรนิทรรศการ อาทิ ผลงานการใช้เครื่อง MOBii SCAN ในการประเมินผลลัพธ์และวางแผนการรักษาผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูกสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และผลงานการใช้นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสุขภาพในการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ด้วยระบบการแพทย์ทางไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หลังการผ่าตัด จะใส่อุปกรณ์จัดแต่งจมูกทำจากซิลิโคนเกรดทางการแพทย์ ที่มีความปลอดภัย เข้ากันได้ทางชีวภาพ มีความสวยงาม ได้รับการรับรองจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ทุกสถานพยาบาลเบิกจ่ายได้ทั่วประเทศ ข่าวในพระราชสำนัก TOP NEWS LIVE

ประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ เฝ้าทูลละอองพระบาทกราบบังคมทูลรายงานการรักษานักเรียน

ด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสให้ส่งตัวนักเรียน โรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี จังหวัดสกลนคร จำนวน ๒ ราย ได้แก่ นางสาวจิรพรรณ บริวงค์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และเด็กชายภราดร จิตรัตนดาพร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เข้ารับการรักษาที่ศูนย์ตะวันฉาย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านการผ่าตัดตกแต่งริมฝีปากนั้น ทางศูนย์ตะวันฉาย และมูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า ได้รับผู้ป่วยเข้าไว้ในโครงการพระราชทานตะวันฉาย โดยให้ความช่วยเหลือในการดูแลรักษา ผ่าตัด และฟื้นฟูสภาพที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive Care) ตามแนวทาง Community-Base Rehabilitation (CBR guidelines) ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ (ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่บรรลุมาตรฐานสุขภาพที่เป็นไปได้) ด้านการศึกษา (ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ สามารถเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ มีความรู้สึกว่าตนเองมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า และสามารถที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ด้านการดำรงชีวิต (ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถเข้าถึงการป้องกันทางสังคมและมีรายได้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตอย่างมีเกียรติ…